วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

จากลุ่มน้ำโขงถึงซับแดง : การเดินทางบนเส้นทางสายอุดมการณ์

    
ปฐมบทผู้แทนราษฎรอีสาน

การเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476 ในสมัยพระยาพหลพลพยุหเสนา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สภาได้บัญญัติให้มีสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท คือ ผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม โดยการเลือกผู้แทนตำบลแล้วจึงเข้าไปเลือกผู้แทนราษฎรจังหวัด ส่วนผู้แทนราษฎรประเภทที่ ได้แก่ผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งขึ้น
ในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในครั้งนั้นพบว่าประชากรภาคอีสานมีสิทธิ์เลือกตั้งมาเป็นอันดับหนึ่งถึงร้อยละ 38.8 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ผู้สมัครเป็นเพศชายทั้งหมด โดยผู้สมัครมีนโยบายในการหาเสียงเน้นการพัฒนาท้องถิ่นเป็นหลัก โดยเฉพาะการโฆษณาหาเสียงของนายอ่ำ บุญไทย ผู้สมัครจากจังหวัดอุบลราชธานีได้จัดพิมพ์หนังสือชื่อ กฤษดาการบนที่ราบสูง   ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนังสือแนวก้าวหน้าในยุคนั้น ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อปี 2476 เพื่อแนะนำตัวและหาเสียงในการสมัครเป็นผู้แทนราษฎร เป็นหนังสือเล่มแรกที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนตัวผู้แทนให้ได้รับการเลือกตั้ง
สำหรับเนื้อหาในหนังสือแบ่งออกเป็น 4 บท คือ ภาคนำ ว่าด้วยหน้าที่ผู้แทนราษฎร และลักษณะของผู้แทนราษฎร บทที่ กล่าวถึงประเทศ งานของรัฐบาล สหกรณ์และสมาคม แนวทางปฏิบัติ บทที่ ว่าด้วยจังหวัด บทที่ ว่าด้วยทำไมข้าพเจ้าจึงสมัครเป็นผู้แทนราษฎร ซึ่งผลจากกาเลือกตั้งในครั้งนั้นนายอ่ำ บุญไทย ไม่ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้แทนราษฎร
บทบาทของผู้แทนราษฎรภาคอีสานในยุคแรก
กล่าวได้ว่าหลังการเลือกตั้งในครั้งแรกนั้นมีผู้แทนราษฎรภาคอีสานที่มีบทบาทโดดเด่นในยุคนั้นคือนายเลียง ไชยกาล จากจังหวัดอุบลราชธานี ได้ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินข้างพระคลังข้างที่โดยไม่ประกาศขายให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป จนเป็นที่ครหาและกล่าวขานของประชาชนในทางเสื่อมเสีย จนทำให้รัฐบาลพระยาพลพหลพยุหเสนาต้องลาออกในปี 2478 แต่ต่อมาภายหลังก็ได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกวาระหนึ่ง
       หลังจากหมดวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 (ประเภทเลือกตั้ง) สิ้นสุดลงจึงมีการเลือกตั้งครั้งที่ ในวันที่ พฤศจิกายน2480 หลังการเลือกตั้งสิ้นสุดลง พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
ในส่วนของผู้แทนราษฎรภาคอีสานมีความหลากหลายกลุ่มมากขึ้น เช่น มาจากกลุ่มข้าราชการ มีนายโสภัณ สุภธีระ (ขอนแก่น) นายเทพ โชตินุติ (ขุขันธ์) นายพุฒเทศ กาญจนเสริม (ขุขันธ์) นายอ้วน นาครทรรพ (อุดรธานี) นายเลื่อน พงษ์โสภณ (นครราชสีมา) มาจากกลุ่มพ่อค้า มีนายเตียง ศิริขันธ์(สกลนคร) นายถวิล อุดล (ร้อยเอ็ด)  มาจากกลุ่มชาวนามีนายจำลอง ดาวเรือง (มหาสารคาม) นายฟอง สิทธิธรรม (อุบลราชธานี) ทั้งนี้สืบเนื่องมีการขยายการศึกษาสู่ท้องถิ่นมากขึ้น ทำให้บุตรหลานชาวนามีโอกาสได้รับการศึกษาและมีคุณสมบัติในการสมัครลงเลือกตั้งมากขึ้น จึงเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิ์เสรีภาพทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้น  
       ในการเลือกตั้งผู้แทนราษฏรครั้งที่ 2  นั้นมีวาระเพียง เดือน ทั้งนี้เนื่องจากมีการยุบสภาครั้งแรกของเมืองไทย  สืบเนื่องมาจากฝ่ายรัฐบาลแพ้การลงมติในบัญญัติที่นายถวิล อุดล ผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด  ได้เสนอแก้ไขข้อบังคับการประชุมและปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2477 จึงมีการเลือกตั้งครั้งที่   ในวันที่ 12  พฤศจิกายน 2481หลังการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรครั้งที่ 3 พันเอกหลวงพิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระหว่างปี 2481 – 2487 ซึ่งการเลือกตั้งในครั้งนี้ทำให้ผู้แทนราษฎรจากภาคอีสานมีบทบาทมากขึ้นทั้งในสภาและนอกสภามากยิ่งขึ้น โดยมีการแต่งตั้งผู้แทนราษฎรอีสานให้เป็นรัฐมนตรีคือนายเลียง ไชยกาล นายฟอง สิทธิธรรม และหลวงอังคณานุรักษ์ (มหาสารคาม) ซึ่งรัฐบาลในยุคนั้นได้เสนอร่างพระราชบัญญัติขนานนามเพื่อเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม  เป็นไทย เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2482 และได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที 1 เมษายน 2483 เป็นวันที่ 1 มกราคม ตามปฏิทินสากลนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
       ในขณะเดียวกันผู้แทนราษฎรภาคอีสานยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไป เนื่องจากมีการรวมกลุ่มเสรีไทยอีสาน มีแกนนำคนสำคัญคือนายเตียง ศิริขันธ์นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์  นายถวิล อุดล และนายจำลอง ดาวเรือง ซึ่งมักจะเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มภาคตะวันออก  ก่อนที่กลายมาเป็น พรรคสหชีพ ในเวลาต่อมา ซึ่งมีบทบาทในการจัดตั้งรัฐบาล ในขณะ เดียวกันก็มีผู้แทนราษฎรอีสานโดยการนำของนายฟอง สิทธิธรรม และนายเลียง ไชยกาล(อุบลราชธานี) ที่ไม่เห็นด้วยกับต่อต้านญี่ปุ่น  
การก่อตั้งขบวนการเสรีไทยในระยะแรกมีชื่อว่า องค์การต่อต้านญี่ปุ่น  ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็นกลุ่มเสรีไทย โดยกลุ่มเสรีไทยภาคอีสานมีมีนายเตียง ศิริขันธ์ เป็นหัวหน้ามีรหัสลับว่า พลูโต   ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เทือกเขาภูพาน จัดตั้งค่ายเสรีไทยที่จังหวัดสกลนคร และขยายสาขาไปยังจังหวัดใกล้เคียง มีนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (อุบลราชธานี) นายจำลอง ดาวเรือง (มหาสารคาม) และนายถวิล อุดล (ร้อยเอ็ด) ร่วมจัดตั้งค่ายเสรีไทยในเขตภาคอีสาน จำนวน 21 ค่าย เพื่อรวบรวมคนอีสานฝึกอาวุธต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น
นายเตียง ศิริขันธ์ หัวหน้าเสรีไทยสายอีสาน ถ่ายภาพร่วมกับนายทหารอังกฤษ
        จนในวันที่ สิงหาคม 2488 ในสมัยที่นายควง  อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี กองกำลังพันธมิตรได้ทิ้งระเบิดปรมาณูลงที่เมืองฮิโรชิมา และในวันที่ 8 สิงหาคม 2488 ที่เมืองนางาซากิ ทำให้ประเทศญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามในวันที่ 15 สิงหาคม 2488
หลังสงครามโลกครั้งที่  สงบลงในวันที่ 16 สิงหาคม 2488  นายปรีดี พนมยงค์  จึงได้ประกาศสันติภาพถือว่าการประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นโมฆะ  เนื่องจากประเทศไทยมีขบวนการเสรีไทยจึงทำให้พ้นจากการเป็นผู้แพ้สงคราม และถูกยึดครองโดยกองทัพสัมพันธมิตร หลังการเลือกตั้งในครั้งที่ 3 ถึงแม้จะมีการแบ่งกลุ่มพรรคการเมืองอย่างชัดเจน แต่ผู้แทนราษฎรภาคอีสานที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันยังคงมีการเคลื่อนไหวนอกสภาร่วมกันเห็นได้จากการร่วมกับกลุ่มผู้นำต่างชาติในนาม ขบวนการเสรีลาว หรือ  ขบวนการลาวอิสระ  เพื่อกอบกู้เอกราชให้กับลาว หลังการเลือกครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2489 มีนายควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งหลังการดำรงตำแหน่งได้ 45 จึงออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเนื่องจากแพ้คะแนนในสภาทำให้นายปรีดี พนมยงค์ ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมา ภายหลังจึงมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงมีการจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นครั้งแรกในเมืองไทย ผลจากการจัดตั้งพรรคการเมืองทำให้ผู้แทนราษฎรภาคอีสานมีการแบ่งกลุ่มกันอย่างชัดเจนทางการเมือง แต่ในความเป็นท้องถิ่นนิยมนั้นยังความเป็นหนึ่งเดียวทั้งในสภาและนอกสภา มีการจัดตั้ง สมาคมภาคตะวันออก”  ซึ่งในเวลาต่อมามีการตั้งเป็น สมาคมอีสาน”  จนกลายเป็น สมาคมชาวอีสานในปี 2490  ซึ่งต่อมาจึงมีบุคคลต่างอาชีพทั้งพ่อค้า ข้าราชการ และข้าราชการทหารเข้ามามีบทบาทในสมาคมชาวอีสานมากขึ้น
       ตำนานอดีตรัฐมนตรีอีสาน กล่าวได้ว่านับตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั้ง  ครั้ง มีกลุ่มผู้แทนราษฎรจากภาคอีสานมีบทบาทสำคัญทั้งในสภาและนอกสภาคือกลุ่ม สี่เสืออีสาน  ประกอบด้วยนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็นหัวหน้าทีม นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาวเรือง และนายเตียง ศิริขันธ์ ผู้แทนราษฎรจากภาคอีสานทั้ง คน ล้วนมีบทบาททางการเมืองทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะบทบาทของเสรีไทยภาคอีสานซึ่งเป็นการรวมกลุ่มคนอีสานเพื่อต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามจึงมีการสานต่ออุดมการณ์ทางการเมืองในรูปแบบต่าง ๆ จนเป็นที่เพ่งเล็งของรัฐบาลในยุคต่อมา และอดีตรัฐมนตรีอีสานทั้ง คน ล้วนมีจุดจบของชีวิตที่ไม่แตกต่างกันโดยน้ำมือของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเกิดเหตุการณ์กบฏวังหลวงเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 
นายเตียง ศิริขันธ์ (ซ้ายมือ) ผู้นำเสรีไทยสายอีสาน กับนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ขุนพลแห่งอีสานใต้ ถ่ายภาพร่วมกันที่ร้านกาแฟใจกลางเมืองสกลนคร หลังจากที่นายเตียง ศิริขันธ์ ได้รับการประกันตัวในข้อหากบฎแบ่งแยกดินแดน
       เหตุการณ์กบฏวังหลวง หรือ ขบวนการ 26 กุมภาพันธ์  โดยกลุ่มคณะก่อการนำโดยนายปรีดี พนมยงค์ โดยกลุ่มผู้ดำเนินการได้ยึดพระบรมมหาราชวังเป็นกองบัญชาการเพื่อล้มรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และคณะรัฐประหาร จากนั้นได้ยึดสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์  โดยประกาศแต่งตั้งนายดิเรก ชัยนาม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งต่อมารัฐบาลได้ควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ทำให้คณะผู้ก่อการได้หลบหนีออกนอกประเทศในเวลาต่อมา
หลังเกิดเหตุการณ์กบฏวังหลวงทำให้มีการจับกุมนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายถวิล อุดล และนายจำลอง ดาวเรือง และ ดร.ทองเปลว ชลภูมิ  ซึ่งถูกควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจก่อนที่จะเคลื่อนย้ายไปขังที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขน ในคืนวันที่ มีนาคม 2492 ครั้นถึงบริเวณถนนพหลโยธิน ใกล้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ของวันที่ 4 มีนาคม 2492 เวลา 03.00 น. ทั้ง 4 คน ถูกยิงเสียชีวิตในสภาพที่สวมกุญแจมือ ซึ่งในเวลาต่อมากรมตำรวจได้แถลงการณ์ว่ามีกลุ่มโจรมลายูพร้อมอาวุธครบมือชุ่มยิงเพื่อชิงตัวผู้ต้องหา ทำให้มีการปะทะกับตำรวจ ในขณะนายตำรวจที่ควบคุมตัวไปไม่ได้รับบาดเจ็บ ท่ามกลางความกังขาของประชาชนทั่วไป
       ในปี 2500  คดีดังกล่าวถูกรื้อฟื้นขึ้นมา ได้ดำเนินคดีในปี 2502  และศาลได้พิพากษาคดีในปี 2504  โดยมีการจำคุกผู้ต้องหาตลอดชีวิต 3 ราย หลังการสังหารโหดอดีตรัฐมนตรีทั้ง 4 คน ทำให้นายเตียง ศิริขันธ์มีบทบาททางการเมืองน้อยลงทั้งนี้เพราะว่าขาดกำลังในการสนับสนุน แต่ก็ยังได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนครในการเลือกตั้งครั้งที่ 4  ในปี 2492 และการเลือกตั้งครั้งที่ 5 ในปี  2495 หลังการเลือกตั้งครั้งที่ 5 นายเตียง ศิริขันธ์และสมาชิกพรรคสหชีพได้รับการเลือกตั้งเข้าสภา 20 คน และได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายรัฐบาลให้เป็นกรรมการนิติบัญญัติกระทรวงการคลัง แต่ก็ได้รับการติดตามพฤติกรรมจากฝ่ายรัฐบาลอยู่เสมอ จนในวันที่ 12 ธันวาคม 2495 วาระสุดท้ายในชีวิตของนายเตียง ศิริขันธ์ ได้มีการประชุมกรรมการนิติบัญญัตินัดพิเศษที่บ้านมนังคศิลา โดยมีนายสง่า ประจักษ์วงศ์ เป็นพนักงานขับรถ ซึ่งก่อนที่จะเดินทางเข้าร่วมประชุมนายเตียง ศิริขันธ์ได้แวะเยี่ยมนางนิวาส ศิริขันธ์ ผู้เป็นภรรยาซึ่งรักษาตัวอยู่ที่คลินิกแถวราชวัตร
ในระหว่างการประชุมได้มีตำรวจเชิญตัวนายเตียง ศิริขันธ์ไปสอบสวนที่สันติบาล หลังจากนั้นไม่มีใครเห็นนายเตียง ศิริขันธ์ และพนักงานขับรถอีกเลย  ซึ่งในเวลาต่อมามีข่าวออกมาว่าถูกนำไปฆ่าและนำไปเผาที่ป่าในเขตจังหวัดกาญจนบุรี
อย่างไรก็ตามคดีดังกล่าวศาลอาญาได้พิพากษาเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2502 โดยได้ฟ้องจำเลย จำนวน 1คน ในข้อหาฆ่านายเตียง ศิริขันธ์ กับพวกรวม 5คน แล้วนำศพไปเผาที่จังหวัดกาญจนบุรี ความกระจ่างจึงถูกเปิดเผยในชั้นศาล และผู้บงการส่วนหนึ่งที่มีส่วนพัวพันในคดีนี้ได้หลบหนีไปต่างประเทศไม่ได้ถูกนำตัวมาฟ้องคดี 
       เรื่องราวของตำนาน สี่เสืออีสาน จากแดนที่ราบสูง ที่บ่งบอกถึงอุดมการณ์ที่หาญกล้า แต่ด้วยความคิดและอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน จึงต้องพ่ายแพ้แก่ฝ่ายบ้านเมืองที่มีอำนาจเหนือกว่า ฝากไว้เพียงตำนานและความทรงจำไว้บนแผ่นดินอีสาน

เรื่องและภาพจาก
ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์.  การเมืองสองฝั่งโขง. กรุงเทพฯ : มติชนการพิมพ์2546.ปรีชา ธรรมวินทร และ สมชาย พรหมโคตร.  จากยอดโดมถึงภูพาน : บันทึก
             ประวัติศาสตร์ฉบับสามัญชนบนเส้นทางประชาธิปไตย.  
           คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสกลนคร, 2543.
ประจวบ อัมพะเศวต.  พลิกแผ่นดินประวัติการเมืองไทย มิถุนายน 2475  
           14 ตุลาคม 2516. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ,  2543.
ป.ทวีชาติ.  ขุนพลภูพาน.  กรุงเทพฯ : วันชนะ, 2546.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น