วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

จารึกเมืองเสมา ฐานข้อมูลจารึกของประเทศไทย

จารึกเมืองเสมา ฐานข้อมูลจารึกของประเทศไทย


ประวัติความเป็นมา

       เมืองเสมาเป็นเมืองโบราณที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา เชื่อว่าน่าจะเป็นชุมชนเก่าก่อนที่จะย้ายมาที่ตัวเมืองนครราชสีมาปัจจุบัน ประวัติความเป็นมาแบ่งออกได้เป็น ๒ สมัย โดยสมัยแรกเป็นชุมชนวัฒนธรรมแบบทวาราวดี มีการยอมรับเอาวัฒนธรรมอินเดีย คือ ศาสนาพุทธและพราหมณ์เข้ามาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน แต่คงขนบธรรมเนียมบางอย่างไว้ เช่น การฝังศพนอนหงายเหยียดยาว รวมทั้งอุทิศสิ่งของต่าง ๆ ให้แก่ศพ ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยที่สอง พบหลักฐานการอยู่อาศัยต่อเนื่องจากสมัยแรกแต่เป็นชุมชนวัฒนธรรมเขมรโดยชนชั้นปกครองจะนับถือศาสนาพราหมณ์ จนภายหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ ไม่ปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์อีกเลย สันนิษฐานว่าเมืองแห่งนี้อาจถูกทิ้งร้างมาจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะทั่วไป
       เป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดิน กำแพงเมืองชั้นเดียวรูปกลมรี ๒ วงต่อเนื่องกัน ขนาดยาวประมาณ ๑,๗๐๐ เมตร จากทางด้านทิศเหนือไปทางทิศใต้ และจากทางด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก ความยาวประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร กำแพงหรือคันดินสูง ๓-๔ เมตร คูน้ำกว้างประมาณ ๑๐-๒๐ เมตร ทางด้านใต้ของเมืองมีลำห้วยไผ่ไหลผ่านและห่างออกไปประมาณ ๓ กิโลเมตร มีลำตะคองที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำมูลได้ ภายในเมืองเสมามีสภาพเป็นป่าโปร่ง เนื่องจากสภาพพื้นที่ถูกปรับไถปลูกพืชไร่นา ปัจจุบันพื้นที่เมืองเสมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้หมดทั้งสิ้นประมาณ ๒,๔๗๕ ไร่ จึงไม่ได้อยู่ในความครอบครองของชาวบ้านอีกต่อไป เมืองโบราณเสมาจึงนับเป็นเมืองที่สมบูรณ์ที่สุดอีกเมืองหนึ่ง แม้ว่าที่ผ่านมาโบราณสถานที่ตั้งอยู่ภายในเมืองเสมาจะถูกลักลอบขุดทำลายเพื่อหาโบราณวัตถุไปจำหน่ายทำให้โบราณสถานมีสภาพทรุดโทรมเป็นอันมาก

หลักฐานที่พบ
       หลักฐานที่พบภายในเมืองเสมา มีโบราณสถานทั้งสิ้น ๙ แห่ง โดย ๖ แห่ง อยู่ในเมืองรูปกลมรี อีก ๓ แห่ง อยู่ด้านทิศเหนือในเมืองวงใหญ่ที่มีรูปค่อนข้างกลม นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานนอกเมืองที่สำคัญอีก ๒ แห่ง คือ พระนอนในวัดธรรมจักรเสมารามและสถูปในวัดแก่นท้าว โบราณสถานทั้งหมดได้รับการขุดแต่ง บูรณะเสริมความมั่นคงและปรับภูมิทัศน์แล้วเสร็จ ยกเว้นสถูปในวัดแก่นท้าว สำหรับโบราณวัตถุ อาทิ ธรรมจักรศิลา จารึกเมืองเสมา จารึกบ่ออีกา และจารึกศรีจนาศะ โดยจารึกบ่ออีกาและจารึกศรีจนาศะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชาแห่งศรีจนาศะมีบุคคลที่ชื่อว่า "อังศเทพ" สร้างศิวลึงค์ทองคำอันเป็นสัญลักษณ์พระอิศวรในลัทธิไศวนิกาย และได้รับดินแดนอยู่นอกกัมพุเทศจารึกหลักนี้ทำขึ้นใน พุทธศักราช๑๔๘๐ ส่วนจารึกเมืองเสมาเป็นจารึกในพุทธศักราช๑๕๑๔ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ กล่าวถึงพราหมณ์ยัชญวราหะสั่งให้ทำจารึกขึ้นไว้ที่เมืองเสมา (พบจารึกหลักนี้ที่โคปุระ) เพื่อแสดงอำนาจเมือง พระนครแห่งอาณาจักรเขมร
       ทุกวันที่ ๑๕ ของเดือนจะมีกิจกรรมทำบุญบวงสรวงเลี้ยงเจ้าเมืองเสมา โดยกลุ่มอนุรักษ์และประชาชนในตำบลเสมา

             ด้านที่1          ด้านที่2              ด้วนที่3  

ชื่อจารึกจารึกเมืองเสมา  
อักษรที่มีในจารึกขอมโบราณ
ศักราชพุทธศักราช  ๑๕๑๔
ภาษาเขมร, สันสกฤต
ด้าน/บรรทัดจำนวนด้าน ๓ ด้าน มี ๘๓ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๒๕ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๒๗ บรรทัด ด้านที่ ๓ มี ๓๑ บรรทัด
วัตถุจารึกศิลา ประเภทหินทรายสีเทา
ลักษณะวัตถุหลักสี่เหลี่ยม
ขนาดวัตถุกว้าง ๔๖ ซม. สูง ๙๙ ซม. หนา ๑๐ ซม.
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ
๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นม. ๒๕"
๒) ในหนังสือ  Nouvelles Inscriptions du Cambodge II กำหนดเป็น “Stele de Sema (Korat) (K. 1141)”
๓) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๓ กำหนดเป็น “จารึกเมืองเสมา”
ปีที่พบจารึกพุทธศักราช ๒๕๒๖
สถานที่พบเมืองเสมา ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
ผู้พบไม่ปรากฏหลักฐาน
ปัจจุบันอยู่ที่หน่วยศิลปากรที่ ๖ จังหวัดนครราชสีมา
พิมพ์เผยแพร่
๑) Nouvelles InscriptionsduCambodge II (Paris : École Française d’Extrême-Orient, 1941), 114-119.
๒) จารึกในประเทศไทย เล่ม ๓ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๑๐๕-๑๑๗. 
ประวัติ
ด้วยราษฎรตำบลเสมา ได้พบจารึกนี้ และนำมามอบให้ทางราชการกรมศิลปากร เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๖
เนื้อหาโดยสังเขป
เริ่มต้นด้วยการกล่าวคำนมัสการเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ได้แก่พระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม พระอุมา และพระสรัสวดี จากนั้นได้กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ หรือพระบาทบรมวีรโลกว่าทรงเป็นโอรสของพระเจ้าราเชนทรวรมัน และทรงสืบเชื้อสายมาจากจันทรวงศ์ (โสมานฺวย) กล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ ว่าได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจไว้อย่างไรบ้าง สุดท้ายก็ได้กล่าวถึงข้าราชการผู้ใหญ่ที่ได้สร้างเทวรูปและพระพุทธรูปไว้หลายองค์ พร้อมทั้งถวายทาสและสิ่งของต่างๆ แด่ศาสนสถานไว้อีกด้วย
ผู้สร้างไม่ปรากฏหลักฐาน
การกำหนดอายุ
จารึกด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๒ บอกมหาศักราช ๘๙๓ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๑๕๑๔




แหล่งที่มา :

ประวัติ เวสป้า สุดยอดตำนานรถคลาสสิค

ประวัติ เวสป้า สุดยอดตำนานรถคลาสสิค



ประวัติ
เวสป้าเกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ แต่เมืองที่ถือเป็นบ้านเกิดของเวสป้าที่แท้จริงคือเมืองปอนเตเดราเมืองอุตสาหกรรมในแคว้นทัสกานี ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานของบริษัท พิอาจิโอในปัจจุบันเป็นเมืองเล็กๆที่ชื่อไม่คุ้นหูนักท่องเที่ยวชาวไทยสักเท่าไหร่ แต่สำหรับคนรักรถเวสป้า นี่คือเป้าหมายที่ห้ามพลาด
     เวสป้าไม่ใช่แค่มอไซค์สกู๊ตเตอร์ แต่เป็นไอดอลทางการออแบบยานพาหนะ ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีความคิดสร้างสรรค์ ความน่าสนใจของเวสป้า ไม่ได้เป็นแค่สัญลัษณ์ของประเทศอิตาลี แต่มันยังข้ามน้ำข้ามทะเล โอนสัญชาติชีวิตในเมืองไทยนานหลายสิบปี เราพบเห็นเวสป้าได้ตามตลาดนัดโปสเตอร์โฆษณายุคเก่า ในโรงรถของนักสะสมมอเตอร์ไซค์คลาสสิค ราวกับเป็นส่วนหนึ่งของคนไทยมานาน โรงงานพิอาจิโอไม่ต่างจากโรงงานอุสาหกรรมทั่วไป ที่เซอร์ไพรส์คือการอนุรักษ์เรื่องราวและขั้นตอนในการผลิตเวสป้าไว้เหมือนเดิม ขั้นตอนการประกอบเวสป้าหนึ่งคัน จะเริ่มจากโครงแผ่นเหล็กคุณภาพสูง นำมาขึ้นรูปเป็นทรงประกอบเข้าเป็นเฟรม พ่นสีตามลายที่กำหนด ประกอบเข้ากับเครื่องยนต์และส่วนประกอบอื่นๆ เอกลัษณ์อย่างหนึ่งของเวสป้า คือวิธีการผลิตที่เน้นใช้มนุษย์ เช่น การพ่นสีตัวถัง ในขณะที่โรงงานมอเตอร์ไซค์แบรนด์อื่นใช้เครื่องยนต์ในการพ่นทั้งหมด เวสป้าใช้พนักงานพ่นสีทับ
3-4ชั้น ก่อนส่งไปประกอบต่อ อีกส่วนที่โดดเด่นของเวสป้าคือ การใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบหลังในตัวถังในขณะที่แบรนด์อื่นจะใช้พลาสติกมาประกอบเพื่อลดทุนแต่ผลิตได้มากขึ้น แต่เวสป้าไม่เชื่อวิธีนั้น
Corradino D' Ascanio นักออกแบบที่เชี่ยงชาญในด้านการวิศวกรรมการบินก็ได้เข้ามาร่วมงานด้วยเขาเป็นคนออกแบบภาพร่างเกี่ยวกับยานยนต์แบบใหม่เรียบง่าย ไม่สิ้นเปลือง และสะดวกสบาย สวยงามควบคู่กันไป เมื่อเขาออกแบบได้รับความสนใจทันที มันไม่ใช่ความเพ้อฝันของเขาอีกต่อไป และความฝันของเขา คือการปฎิวัติวงการยานยนต์แบบใหม่ เขาใช้เทคโนโลยีของเครื่องบินบวกกับโครงสร้างแบบชิ้นเดียว ลักษณะ เป็นง่ามเหมือนล้อลงดินของเครื่องบิน ซึ่งง่ายต่อการถอดล้อ เขาเรียกมันว่า MP6 และในที่สุดยานยนต์ต้นแบบที่ทุกคนรอคอยกัน ก็ได้ถือกำเนิดจากการผลิตใน เดือน กุมภาพันธ์ 1945 ซึ่ง  Enrico Piaggio ได้ให้ฉายาว่า " Samba Una Vespa " เพราะมันมีลักษณะคล้ายตัวต่อ เสียงเครื่องยนต์ก็ดังคล้ายตัวต่ออีกด้วย นี้คือที่มาของชื่อรถ vespa ที่เรารู้จักกัน 

ลักษณะของรถที่คล้ายตัวต่อ
ในเดือนธันวาคมปีค.ศ. 1945 รถเวสป้ารุ่น MP6 ก็ถูกผลิตออกมาด้วยองค์ประกอบหลายอย่างที่สะดวกสบาย มีล้ออะไหล่ซึ่งขับขี่แบบง่ายๆถ้าในเวลาขับขี่รถติดก็มีที่กำบังกันน้ำ กระเด็นใส่ Enrico ได้ฟังเสียงรถ MP6 เขาร้องออกมาว่า"มันเหมือนตัวต่อ ร้องเลย" ตั้งแต่นั้นมา Enrico ก็เลยให้ชื่อเสียงเรียงนามเรียกรถนี้ว่า Vespa ซึ่งแปลว่าตัวต่อ (Wasp)
รุ่นแรกมี scooterขนาดเล็กที่ใช้โครงสร้างตัวถังแบบชั้นเดียวแทน หลังจากผลิตรถรุ่นดังกล่าวได้ประมาณ 100 คัน จากนั้นจึงลงมือผลิตรุ่นที่ใช้ชื่อว่า Vespa (Wasp) ออกมารถรุ่นนี้มีความก้าวหน้ามากทั้งในด้านรูปทรงและ ด้านวิศวกรรม ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบของVespa ที่มีการวางจำหน่ายในท้องตลาดจนถึงกลางทศวรรษ1990 scooter รุ่นแรกที่มีขนาดเครื่องยนต์เพียง 98cc.ต่อมาได้มีการพัฒนาให้มีขนาด 125cc. 150cc.และ 200cc. ตามลำดับ
สำหรับคนที่เล่นพวกรถคลาสสิคพวกนี้น่าจะมีกำลังทรัพย์มากพอสมควรนะ เพราะไหนจะค่าอะไหล่รถ ซึ่งบางอย่างก็หายาก ค่าแต่งรถ หรือบางทีอาจโดนใบสั่งจากตำรวจอีกเพราะเวสป้าบางคันมันก็ไม่มีทะเบียน ในประเทศไทย Piaggio Group มีตัวแทนจำหน่ายรถเวสป้า ดำเนินธุรกิจโดย บริษัทไทยเจริญอะไหล่ยนต์ จำกั





แหล่งที่มา : http://ruttanun.blogspot.com/2013/02/vespa.html

ทอผ้าพื้นเมืองลายเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ทอผ้าพื้นเมืองลายเชียงแสน

ประวัติความเป็นมาเนื่องมาจากเชียงแสนหรือเมืองหิรัญยาง เป็นเมืองของอาณาจักรล้านนา มีกษัตริย์ปกครองสืบกันมา มีความเจริญทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และพุทธศาสนา มีอารยะธรรมสูงส่ง ทั้งด้านภาษา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
เมื่อถึงพุธศักราช 2347 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งได้โปรดให้กรมหลวงเทพหริรักษ์และพระยายมราชได้ยกทัพมาตีเมืองเชียงแสน และกวาดต้อนผู้คน 23000 คน ลงไปไว้เมืองเชียงใหม่ส่วนหนึ่ง เมืองน่านส่วนหนึ่ง เมืองลำปาง เมืองหลวงพระบาง ส่วนที่เหลือไป กรุงเทพ โปรดให้อยู่ที่เมืองราชบุรี และเมืองสระบุรี เมื่อไปก็ได้นำเอกลักษณ์ศิลปะทอผ้าเชียงแสนไปเผยแพร่ที่เมืองนั้นๆด้วย
ในปี พ.ศ. 2529 กลุ่มแม่บ้านสบคำได้รวมตัวกันและจัดตั้งกลุ่มทอผ้าด้วยกี่กระตุก โดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย เข้ามาทำการฝึกอบรมการทอผ้า แก่สตรีในหมู่บ้าน จำนวน 60 คน มีกี่ทั้งหมด 10 หลัง ทำการฝึกอบรมเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากฝึกอบรม กลุ่มสตรีได้ทำการทอผ้าตลอดมาโดยมีนางอารีย์ ทองผาง เป็นประธาน กลุ่ม ลวดลายที่ทอกันนั้นได้แก่ ลายน้ำไหล ลายกี่ตะกอ ลายตาราง แต่มีปัญหาด้าน การตลาด คือ ไม่มีสถานที่จำหน่าย
เมื่อปี พ.ศ. 2539 พระครูไพศาลพัฒนาภิรัต เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา ได้ศึกษา ประวัติเมืองเชียงแสน ทำให้ทราบว่าในสมัยอดีตมีการทอผ้าลวดลายเชียงแสนมาแต่ดั้ง เดิม แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว ท่านพระครูไพศาลพัฒนาภิรัตจึงได้ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ ขึ้นเพื่อรวบรวมผ้าทอเชียงแสนและถิ่นใกล้เคียง จึงได้สืบแหล่งทอผ้าเชียงแสนพบว่า ปัจจุบันมีการทออยู่ที่ราชบุรี จึงได้เดินทางพร้อมด้วยสมาชิก เพื่อไปศึกษาลายผ้า และ นำมาเป็นตัวอย่างในการฝึกทอผ้าที่อำเภอแม่แจ่ม จึงได้จัดตั้งกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง เชียงแสน มีสมาชิก 100 คน หลังจากนั้นในปี 2540 ศูนย์ ก.ศ.น. เชียงแสน ได้งบประมาณ ซื้อวัสดุและจัดหาครูมาสอน ทำให้กลุ่มอาชีพมีความเข็มแข็งขึ้นตามลำดับ สามารถถ่าย ทอดความรู้ให้แก่สมาชิกใหม่ที่มีความสนใจได้
บรรยากาศการเรียนภายในวัดพระธาตุผาเงา และ ก.ศ.น. อ.เชียงแสน จึงได้ร่วม มือกันจัดให้มีความหลากหลายเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายทั่วไปไม่จำเพาะเจาะจง กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดขึ้นอยู่กับความสนใจและความต้องการของบุคคลนั้นๆ วัดพระธาตุผาเงา จึงเป็นศูนย์การเรียนรู้ หรือ learning complex หรือตักศิลาเชียงแสนโดยสมบูรณ์
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
ลักษณะที่โดดเด่นของผ้าทอพื้นเมือง ลวดลายเชียงแสน คือลวดลายการทอ และการจรด ลวดลายจะไม่เหมือนใคร ลวดลายดั้งเดิมสืบทอดจากปู่ย่า ของคนเชียงแสน มีอยู่ 5 ลายด้วยกัน ประกอบด้วย
1. ลายกาแล
2. ลายขอพันเสาร์
3. ลายไข่ปลา
4. ลายมะลิ
5. ลายเสือย่อย เนื้อผ้าแน่นสีไม่ตก
แหลงที่มา :

จากลุ่มน้ำโขงถึงซับแดง : การเดินทางบนเส้นทางสายอุดมการณ์

    
ปฐมบทผู้แทนราษฎรอีสาน

การเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476 ในสมัยพระยาพหลพลพยุหเสนา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สภาได้บัญญัติให้มีสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท คือ ผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม โดยการเลือกผู้แทนตำบลแล้วจึงเข้าไปเลือกผู้แทนราษฎรจังหวัด ส่วนผู้แทนราษฎรประเภทที่ ได้แก่ผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งขึ้น
ในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในครั้งนั้นพบว่าประชากรภาคอีสานมีสิทธิ์เลือกตั้งมาเป็นอันดับหนึ่งถึงร้อยละ 38.8 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ผู้สมัครเป็นเพศชายทั้งหมด โดยผู้สมัครมีนโยบายในการหาเสียงเน้นการพัฒนาท้องถิ่นเป็นหลัก โดยเฉพาะการโฆษณาหาเสียงของนายอ่ำ บุญไทย ผู้สมัครจากจังหวัดอุบลราชธานีได้จัดพิมพ์หนังสือชื่อ กฤษดาการบนที่ราบสูง   ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนังสือแนวก้าวหน้าในยุคนั้น ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อปี 2476 เพื่อแนะนำตัวและหาเสียงในการสมัครเป็นผู้แทนราษฎร เป็นหนังสือเล่มแรกที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนตัวผู้แทนให้ได้รับการเลือกตั้ง
สำหรับเนื้อหาในหนังสือแบ่งออกเป็น 4 บท คือ ภาคนำ ว่าด้วยหน้าที่ผู้แทนราษฎร และลักษณะของผู้แทนราษฎร บทที่ กล่าวถึงประเทศ งานของรัฐบาล สหกรณ์และสมาคม แนวทางปฏิบัติ บทที่ ว่าด้วยจังหวัด บทที่ ว่าด้วยทำไมข้าพเจ้าจึงสมัครเป็นผู้แทนราษฎร ซึ่งผลจากกาเลือกตั้งในครั้งนั้นนายอ่ำ บุญไทย ไม่ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้แทนราษฎร
บทบาทของผู้แทนราษฎรภาคอีสานในยุคแรก
กล่าวได้ว่าหลังการเลือกตั้งในครั้งแรกนั้นมีผู้แทนราษฎรภาคอีสานที่มีบทบาทโดดเด่นในยุคนั้นคือนายเลียง ไชยกาล จากจังหวัดอุบลราชธานี ได้ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินข้างพระคลังข้างที่โดยไม่ประกาศขายให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป จนเป็นที่ครหาและกล่าวขานของประชาชนในทางเสื่อมเสีย จนทำให้รัฐบาลพระยาพลพหลพยุหเสนาต้องลาออกในปี 2478 แต่ต่อมาภายหลังก็ได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกวาระหนึ่ง
       หลังจากหมดวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 (ประเภทเลือกตั้ง) สิ้นสุดลงจึงมีการเลือกตั้งครั้งที่ ในวันที่ พฤศจิกายน2480 หลังการเลือกตั้งสิ้นสุดลง พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
ในส่วนของผู้แทนราษฎรภาคอีสานมีความหลากหลายกลุ่มมากขึ้น เช่น มาจากกลุ่มข้าราชการ มีนายโสภัณ สุภธีระ (ขอนแก่น) นายเทพ โชตินุติ (ขุขันธ์) นายพุฒเทศ กาญจนเสริม (ขุขันธ์) นายอ้วน นาครทรรพ (อุดรธานี) นายเลื่อน พงษ์โสภณ (นครราชสีมา) มาจากกลุ่มพ่อค้า มีนายเตียง ศิริขันธ์(สกลนคร) นายถวิล อุดล (ร้อยเอ็ด)  มาจากกลุ่มชาวนามีนายจำลอง ดาวเรือง (มหาสารคาม) นายฟอง สิทธิธรรม (อุบลราชธานี) ทั้งนี้สืบเนื่องมีการขยายการศึกษาสู่ท้องถิ่นมากขึ้น ทำให้บุตรหลานชาวนามีโอกาสได้รับการศึกษาและมีคุณสมบัติในการสมัครลงเลือกตั้งมากขึ้น จึงเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิ์เสรีภาพทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้น  
       ในการเลือกตั้งผู้แทนราษฏรครั้งที่ 2  นั้นมีวาระเพียง เดือน ทั้งนี้เนื่องจากมีการยุบสภาครั้งแรกของเมืองไทย  สืบเนื่องมาจากฝ่ายรัฐบาลแพ้การลงมติในบัญญัติที่นายถวิล อุดล ผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด  ได้เสนอแก้ไขข้อบังคับการประชุมและปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2477 จึงมีการเลือกตั้งครั้งที่   ในวันที่ 12  พฤศจิกายน 2481หลังการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรครั้งที่ 3 พันเอกหลวงพิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระหว่างปี 2481 – 2487 ซึ่งการเลือกตั้งในครั้งนี้ทำให้ผู้แทนราษฎรจากภาคอีสานมีบทบาทมากขึ้นทั้งในสภาและนอกสภามากยิ่งขึ้น โดยมีการแต่งตั้งผู้แทนราษฎรอีสานให้เป็นรัฐมนตรีคือนายเลียง ไชยกาล นายฟอง สิทธิธรรม และหลวงอังคณานุรักษ์ (มหาสารคาม) ซึ่งรัฐบาลในยุคนั้นได้เสนอร่างพระราชบัญญัติขนานนามเพื่อเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม  เป็นไทย เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2482 และได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที 1 เมษายน 2483 เป็นวันที่ 1 มกราคม ตามปฏิทินสากลนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
       ในขณะเดียวกันผู้แทนราษฎรภาคอีสานยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไป เนื่องจากมีการรวมกลุ่มเสรีไทยอีสาน มีแกนนำคนสำคัญคือนายเตียง ศิริขันธ์นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์  นายถวิล อุดล และนายจำลอง ดาวเรือง ซึ่งมักจะเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มภาคตะวันออก  ก่อนที่กลายมาเป็น พรรคสหชีพ ในเวลาต่อมา ซึ่งมีบทบาทในการจัดตั้งรัฐบาล ในขณะ เดียวกันก็มีผู้แทนราษฎรอีสานโดยการนำของนายฟอง สิทธิธรรม และนายเลียง ไชยกาล(อุบลราชธานี) ที่ไม่เห็นด้วยกับต่อต้านญี่ปุ่น  
การก่อตั้งขบวนการเสรีไทยในระยะแรกมีชื่อว่า องค์การต่อต้านญี่ปุ่น  ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็นกลุ่มเสรีไทย โดยกลุ่มเสรีไทยภาคอีสานมีมีนายเตียง ศิริขันธ์ เป็นหัวหน้ามีรหัสลับว่า พลูโต   ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เทือกเขาภูพาน จัดตั้งค่ายเสรีไทยที่จังหวัดสกลนคร และขยายสาขาไปยังจังหวัดใกล้เคียง มีนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (อุบลราชธานี) นายจำลอง ดาวเรือง (มหาสารคาม) และนายถวิล อุดล (ร้อยเอ็ด) ร่วมจัดตั้งค่ายเสรีไทยในเขตภาคอีสาน จำนวน 21 ค่าย เพื่อรวบรวมคนอีสานฝึกอาวุธต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น
นายเตียง ศิริขันธ์ หัวหน้าเสรีไทยสายอีสาน ถ่ายภาพร่วมกับนายทหารอังกฤษ
        จนในวันที่ สิงหาคม 2488 ในสมัยที่นายควง  อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี กองกำลังพันธมิตรได้ทิ้งระเบิดปรมาณูลงที่เมืองฮิโรชิมา และในวันที่ 8 สิงหาคม 2488 ที่เมืองนางาซากิ ทำให้ประเทศญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามในวันที่ 15 สิงหาคม 2488
หลังสงครามโลกครั้งที่  สงบลงในวันที่ 16 สิงหาคม 2488  นายปรีดี พนมยงค์  จึงได้ประกาศสันติภาพถือว่าการประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นโมฆะ  เนื่องจากประเทศไทยมีขบวนการเสรีไทยจึงทำให้พ้นจากการเป็นผู้แพ้สงคราม และถูกยึดครองโดยกองทัพสัมพันธมิตร หลังการเลือกตั้งในครั้งที่ 3 ถึงแม้จะมีการแบ่งกลุ่มพรรคการเมืองอย่างชัดเจน แต่ผู้แทนราษฎรภาคอีสานที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันยังคงมีการเคลื่อนไหวนอกสภาร่วมกันเห็นได้จากการร่วมกับกลุ่มผู้นำต่างชาติในนาม ขบวนการเสรีลาว หรือ  ขบวนการลาวอิสระ  เพื่อกอบกู้เอกราชให้กับลาว หลังการเลือกครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2489 มีนายควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งหลังการดำรงตำแหน่งได้ 45 จึงออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเนื่องจากแพ้คะแนนในสภาทำให้นายปรีดี พนมยงค์ ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมา ภายหลังจึงมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงมีการจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นครั้งแรกในเมืองไทย ผลจากการจัดตั้งพรรคการเมืองทำให้ผู้แทนราษฎรภาคอีสานมีการแบ่งกลุ่มกันอย่างชัดเจนทางการเมือง แต่ในความเป็นท้องถิ่นนิยมนั้นยังความเป็นหนึ่งเดียวทั้งในสภาและนอกสภา มีการจัดตั้ง สมาคมภาคตะวันออก”  ซึ่งในเวลาต่อมามีการตั้งเป็น สมาคมอีสาน”  จนกลายเป็น สมาคมชาวอีสานในปี 2490  ซึ่งต่อมาจึงมีบุคคลต่างอาชีพทั้งพ่อค้า ข้าราชการ และข้าราชการทหารเข้ามามีบทบาทในสมาคมชาวอีสานมากขึ้น
       ตำนานอดีตรัฐมนตรีอีสาน กล่าวได้ว่านับตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั้ง  ครั้ง มีกลุ่มผู้แทนราษฎรจากภาคอีสานมีบทบาทสำคัญทั้งในสภาและนอกสภาคือกลุ่ม สี่เสืออีสาน  ประกอบด้วยนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็นหัวหน้าทีม นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาวเรือง และนายเตียง ศิริขันธ์ ผู้แทนราษฎรจากภาคอีสานทั้ง คน ล้วนมีบทบาททางการเมืองทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะบทบาทของเสรีไทยภาคอีสานซึ่งเป็นการรวมกลุ่มคนอีสานเพื่อต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามจึงมีการสานต่ออุดมการณ์ทางการเมืองในรูปแบบต่าง ๆ จนเป็นที่เพ่งเล็งของรัฐบาลในยุคต่อมา และอดีตรัฐมนตรีอีสานทั้ง คน ล้วนมีจุดจบของชีวิตที่ไม่แตกต่างกันโดยน้ำมือของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเกิดเหตุการณ์กบฏวังหลวงเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 
นายเตียง ศิริขันธ์ (ซ้ายมือ) ผู้นำเสรีไทยสายอีสาน กับนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ขุนพลแห่งอีสานใต้ ถ่ายภาพร่วมกันที่ร้านกาแฟใจกลางเมืองสกลนคร หลังจากที่นายเตียง ศิริขันธ์ ได้รับการประกันตัวในข้อหากบฎแบ่งแยกดินแดน
       เหตุการณ์กบฏวังหลวง หรือ ขบวนการ 26 กุมภาพันธ์  โดยกลุ่มคณะก่อการนำโดยนายปรีดี พนมยงค์ โดยกลุ่มผู้ดำเนินการได้ยึดพระบรมมหาราชวังเป็นกองบัญชาการเพื่อล้มรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และคณะรัฐประหาร จากนั้นได้ยึดสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์  โดยประกาศแต่งตั้งนายดิเรก ชัยนาม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งต่อมารัฐบาลได้ควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ทำให้คณะผู้ก่อการได้หลบหนีออกนอกประเทศในเวลาต่อมา
หลังเกิดเหตุการณ์กบฏวังหลวงทำให้มีการจับกุมนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายถวิล อุดล และนายจำลอง ดาวเรือง และ ดร.ทองเปลว ชลภูมิ  ซึ่งถูกควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจก่อนที่จะเคลื่อนย้ายไปขังที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขน ในคืนวันที่ มีนาคม 2492 ครั้นถึงบริเวณถนนพหลโยธิน ใกล้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ของวันที่ 4 มีนาคม 2492 เวลา 03.00 น. ทั้ง 4 คน ถูกยิงเสียชีวิตในสภาพที่สวมกุญแจมือ ซึ่งในเวลาต่อมากรมตำรวจได้แถลงการณ์ว่ามีกลุ่มโจรมลายูพร้อมอาวุธครบมือชุ่มยิงเพื่อชิงตัวผู้ต้องหา ทำให้มีการปะทะกับตำรวจ ในขณะนายตำรวจที่ควบคุมตัวไปไม่ได้รับบาดเจ็บ ท่ามกลางความกังขาของประชาชนทั่วไป
       ในปี 2500  คดีดังกล่าวถูกรื้อฟื้นขึ้นมา ได้ดำเนินคดีในปี 2502  และศาลได้พิพากษาคดีในปี 2504  โดยมีการจำคุกผู้ต้องหาตลอดชีวิต 3 ราย หลังการสังหารโหดอดีตรัฐมนตรีทั้ง 4 คน ทำให้นายเตียง ศิริขันธ์มีบทบาททางการเมืองน้อยลงทั้งนี้เพราะว่าขาดกำลังในการสนับสนุน แต่ก็ยังได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนครในการเลือกตั้งครั้งที่ 4  ในปี 2492 และการเลือกตั้งครั้งที่ 5 ในปี  2495 หลังการเลือกตั้งครั้งที่ 5 นายเตียง ศิริขันธ์และสมาชิกพรรคสหชีพได้รับการเลือกตั้งเข้าสภา 20 คน และได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายรัฐบาลให้เป็นกรรมการนิติบัญญัติกระทรวงการคลัง แต่ก็ได้รับการติดตามพฤติกรรมจากฝ่ายรัฐบาลอยู่เสมอ จนในวันที่ 12 ธันวาคม 2495 วาระสุดท้ายในชีวิตของนายเตียง ศิริขันธ์ ได้มีการประชุมกรรมการนิติบัญญัตินัดพิเศษที่บ้านมนังคศิลา โดยมีนายสง่า ประจักษ์วงศ์ เป็นพนักงานขับรถ ซึ่งก่อนที่จะเดินทางเข้าร่วมประชุมนายเตียง ศิริขันธ์ได้แวะเยี่ยมนางนิวาส ศิริขันธ์ ผู้เป็นภรรยาซึ่งรักษาตัวอยู่ที่คลินิกแถวราชวัตร
ในระหว่างการประชุมได้มีตำรวจเชิญตัวนายเตียง ศิริขันธ์ไปสอบสวนที่สันติบาล หลังจากนั้นไม่มีใครเห็นนายเตียง ศิริขันธ์ และพนักงานขับรถอีกเลย  ซึ่งในเวลาต่อมามีข่าวออกมาว่าถูกนำไปฆ่าและนำไปเผาที่ป่าในเขตจังหวัดกาญจนบุรี
อย่างไรก็ตามคดีดังกล่าวศาลอาญาได้พิพากษาเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2502 โดยได้ฟ้องจำเลย จำนวน 1คน ในข้อหาฆ่านายเตียง ศิริขันธ์ กับพวกรวม 5คน แล้วนำศพไปเผาที่จังหวัดกาญจนบุรี ความกระจ่างจึงถูกเปิดเผยในชั้นศาล และผู้บงการส่วนหนึ่งที่มีส่วนพัวพันในคดีนี้ได้หลบหนีไปต่างประเทศไม่ได้ถูกนำตัวมาฟ้องคดี 
       เรื่องราวของตำนาน สี่เสืออีสาน จากแดนที่ราบสูง ที่บ่งบอกถึงอุดมการณ์ที่หาญกล้า แต่ด้วยความคิดและอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน จึงต้องพ่ายแพ้แก่ฝ่ายบ้านเมืองที่มีอำนาจเหนือกว่า ฝากไว้เพียงตำนานและความทรงจำไว้บนแผ่นดินอีสาน

เรื่องและภาพจาก
ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์.  การเมืองสองฝั่งโขง. กรุงเทพฯ : มติชนการพิมพ์2546.ปรีชา ธรรมวินทร และ สมชาย พรหมโคตร.  จากยอดโดมถึงภูพาน : บันทึก
             ประวัติศาสตร์ฉบับสามัญชนบนเส้นทางประชาธิปไตย.  
           คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสกลนคร, 2543.
ประจวบ อัมพะเศวต.  พลิกแผ่นดินประวัติการเมืองไทย มิถุนายน 2475  
           14 ตุลาคม 2516. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ,  2543.
ป.ทวีชาติ.  ขุนพลภูพาน.  กรุงเทพฯ : วันชนะ, 2546.

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดที่ 8

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฏหมายและจริยธรรม

   ชื่อนายเศรษฐศิริ ศรีสุวอ รหัส 56010122594 กลุ่ม 1 รหัสวิชา 0026008


จงพิจารณากรณีศึกษานี้

1."นาย  A  ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP - Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง "
         การกระทำอย่างนี้เป็นการทำผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆหรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุได และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย

- ผิดจริยธรรม เพราะไม่ได้ทำการขออนุญาติอยากถูกกิจลักษณะ และเอาไปแกล้งคนอื่น โดยไม่เกิดประโยชน์ใดๆ อาจทำให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมเสียหายได้ และผิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 


2. “นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน อ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียนในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J” การกระทำอย่างนี้เป็นการทำผิดจริยธรรมหรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย

- ไม่ผิดเพราะถึงนาย J จะทำขึ้นเพื่อความสนุกสนาน แต่เขาก๋ได้ใช้ข้อมูลอ้งอิงที่มาจากตำรา ซึ่งเป็นความรู้ทั้งนั้น เหมาะสมที่จะนำมาเผยแพร่ เพื่อให้ความรู้แก่คนมากมายที่ต้องการ จึงไม่ผิด จริยธรรมและกฎหมาย 

แบบฝึกหัดที่ 7

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ

   ชื่อนายเศรษฐศิริ ศรีสุวอ รหัส 56010122594 กลุ่ม 1 รหัสวิชา 0026008


1.หน้าที่ของไฟร์วอลล์(Firewall)คือ … 

Firewall เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์แบบหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software โดยหน้าที่หลัก ๆ ของ Firewall นั้น จะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานระหว่างNetwork ต่าง ๆ (Access Control) โดย Firewall จะเป็นคนที่กำหนด ว่า ใคร (Source) , ไปที่ไหน (Destination) , ด้วยบริการอะไร (Service/Port)

2.จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm,virus computer,spy ware,adware มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อก่อกวนทำลายระบบคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น แผ่นดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ และเป็นโปรแกรมที่สามารถกระจายจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง ไปยังคอมพิวเตอร์อีกตัวหนึ่งได้โดยผ่านระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์ เช่น โดยผ่านทาง แผ่นบันทึกข้อมูล (Diskette) หรือระบบเครือข่ายข้อมูล

3. ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง

- มี 6 ชนิด

1. บูตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses) หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัส
ที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์ คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงาน
ขึ้นมาครั้งแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียก
ระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงาน
การทำงานของบูตเซกเตอร์ไวรัสคือ จะเข้าไปแทนที่โปรแกรมที่อยู่ในบูตเซกเตอร์ โดยทั่วไปแล้วถ้าติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Partition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมา เมื่อมีการเรียนระบบปฏิบัติการ จากดิสก์นี้ โปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยค วามจำเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรม มา ก่อนที่จะไปเรียนให้ระบบปฏิบัติการทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

2. โปรแกรมไวรัส (Program Viruses) หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่ง
ที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปอยู่ใน
โปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น SYS ได้ด้วยการทำงานของไวรัสประเภทนี้ คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไ ปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำ งานตามปกติ เมื่อฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้วหลังจากนี้หากมีการ เรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสจะสำเนาตัวเองเข้าไปในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป
นอกจากนี้ไวรัสนี้ยังมีวิธีการแพร่ระบาดอีกคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหา โปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ติดเพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้นทำงานตามปกติต่ อไป

3. ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโ ปรแกรมธรรมดา ทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียนขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมา ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำ อธิบาย การใช้งาน ที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ
จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันคือเข้าไปทำอันตรายต่อ ข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วง เอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการ
เข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มี ม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโป รแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและ สร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบต์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมม้าโทรจันได้

4. โพลีมอร์ฟิกไวรัส (Polymorphic Viruses) เป็นชื่อที่ใช้เรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปล ี่ยนตัวเอง ได้เมื่อมีการสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจัดโดยโปรแกรมตรว จหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

5. สทิลต์ไวรัส (Stealth Viruses) เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อกา รตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรม ใดแล้วจะทำให้ขนาดของ โปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทิสต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้
เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

6. Macro viruses จะติดต่อกับไฟล์ซึ่งใช้เป็นต้นแบบ (template) ในการสร้างเอกสาร (documentsหรือ spreadsheet) หลังจากที่ต้นแบบในการใช้สร้างเอกสาร ติดไวรัสแล้ว ทุก ๆ เอกสารที่เปิดขึ้นใช้ด้วยต้นแบบอันนั้นจะเกิดความเสียหายขึ้น

5.มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่

  • กฏหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูงทางอิเล็กทอนิกส์
  • กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทอนิกส์
  • กฏหมายการโอนเงินทางอิเล็กทอนิกส์
  • กฏหมายโทลคมนาคม
  • กฏหมายระหว่างประเทศ
  • กฏหมายืั้เกี่ยวเนื่องกับระบบอินเตอร์เน็ต

แบบฝึกหัดที่ 6

                                                         บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน

 ชื่อนายเศรษฐศิริ ศรีสุวอ รหัส 56010122594 กลุ่ม 1 รหัสวิชา 0026008



1.การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์เป็นความหมายของข้อใด
ก.เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม
ข.ระบบการเรียนการสอนทางไกล
3.การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม(ATM)เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด
ค.เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
4.ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ง.ถูกทุกข้อ
5.เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด
ก.การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
6.เครื่องมือที่สำคัญในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร
ง.ถูกทุกข้อ
7.ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ง.เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ
8.ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ
ง.โทรทัศน์ วิทยุ
9.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
ค.ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
10.ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน
ง.ถูกทุกข้อ

แบบฝึกหัดที่ 5

บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ

   ชื่อนายเศรษฐศิริ ศรีสุวอ รหัส 56010122594 กลุ่ม 1 รหัสวิชา 0026008



1. ความหมายการจัดการสารสนเทศ

- การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การทำกิจกรรมหลัก ต่างๆ ในการจัดหา การจัดโครงสร้าง (organization) การควบคุม ผลิต การเผยแพร่และการใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์การทุกประเภทอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งสารสนเทศในที่นี้หมายถึงสารสนเทศทุกประเภทที่มีคุณค่าไม่ว่าจะมีแหล่งกำเนิดจากภายในหรือภายนอกองค์การ

2.การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร

- การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวันการศึกษาและการทำงานประกอบอาชีพต่างๆ
- การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์การในด้านการบริหารจัดการ การดำเนินงาน และกฎหมาย ดังนี้
  1.  ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ
  2.  ความสำคัญด้านการดำเนินงาน
  3.  ความสำคัญด้านกฎหมาย
3. พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง

- แบ่งออกเป็น 2 ยุค  คือ
- การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ
- การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์
4.จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย3ตัวอย่าง
     1. การศึกษา
     2. การหาข้อมูลข่าวสาร
     3. การเผยแพร่ข้อมูล

แบบฝึกหัดที่ 4

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ

   ชื่อนายเศรษฐศิริ ศรีสุวอ รหัส 56010122594 กลุ่ม 1 รหัสวิชา 0026008


1.ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ ชนิด

1  การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
  • ดาวเทียวถ่ายภาพทางอากาศ  
  • กล้องดิจิทัลกล้องถ่ายวีดีทัศน์ 
  • เครื่องเอกซเรย์
2  การแสดงผล
  •  เครื่องพิมพ์ 
  •  จอภาพ 
  •  พลอตเตอร์
3  การประมวลผล
  •  ฮาร์ดแวร์
  •   ซอฟต์แวร์
  •   OS
4  การสื่อสารและเครือข่าย 
  • การประชุมผ่านทางจอภาพ
  • ไปรษณีย์ภาพ
  •  อินเตอร์เน็ต

2.ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความสัมพันธ์กัน


 8  ซอฟต์แวร์ประยุกต์
1. ส่วนใหญ่ทำหน้าที่คำนวณประมวลผลข้อมูล
 3  Information  Technology
2. e-Revenue
 1  คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
3. เทคโนโลยีต่างๆที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ  ความถูกต้องแม่นยำ  และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
 6  เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย
4. มีองค์ประกอบพื้นฐาน  3  ส่วน  ได้แก่  Sender  Medium  และ Decoder
 10 ช่วยผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับส่ง-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย
 7  ซอฟต์แวร์ระบบ
6. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  เทคโนโลยีการสื่อวารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
 9  การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมิเดีย
ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ
7. โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
 5  EDI
8. โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ  จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภท
 4  การสื่อสารโทรคมนาคม
9. CAL
 2  บริการชำระภาษีออนไลน์
10. ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

แบบฝึกหัดที่ 3

บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ   

   ชื่อนายเศรษฐศิริ ศรีสุวอ รหัส 56010122594 กลุ่ม 1 รหัสวิชา 0026008


1.ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรูสาสนเทศ
ตอบ ง.ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และการใช้งานสารสนเทศ

2.จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญสุด
ตอบ ก.ความสามารถในการตระหนัว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ

3.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
ตอบ ค.ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม

4.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สาสนเทศ
ตอบ ก.โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเน้นวัตถุนิยมมากขึ้น

5.ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
ตอบ ค.5-4-1-2-3